
มิตซูบิชิ “มิราจ” เป็นผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ระดับโลกและรถยนต์รุ่นใหม่ในสายผลิตภัณฑ์ของมิตซู บิชิ มอเตอร์ส ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการรถยนต์ของตลาดโลก โดยได้รับการออกแบบโดยเน้น “ความกะทัดรัด” “ราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ง่าย” และ “ให้การประหยัดน้ำมันเป็นเยี่ยม” จึงให้ความสมดุลทั้งสมรรถนะและฟังก์ชั่นการใช้งาน ทั้งนี้จากความพยายามในการลดน้ำหนักของตัวรถรวมไปถึงการพัฒนารถขึ้นมาบนแพ ลทฟอร์มใหม่ทั้งหมดโดยเน้นการประหยัดน้ำมันจากโครงสร้างเหล็กความแข็งแรงสูง High Tensile Steel ซึ่งมีน้ำหนักเบาแต่ใความแข็งแกร่งสูงกว่าเหล็กทั่วไป สอดคล้องกับการออกแบบตัวถังตามหลักอากาศพลศาสตร์ ส่งผลให้ มิตซูบิชิ “มิราจ” ใหม่ เป็นรถที่ให้การประหยัดน้ำมันสูงสุดในรถระดับเดียวกันโดยมีอัตราการประหยัด น้ำมันสูงสุดถึง 22 กิโลเมตรต่อลิตร (ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานยุโรป UNECE Reg.101 Rev.O1 Combine Mode) รวมไปถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะของโครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐาน สากล หรือ อีโค คาร์ ของรัฐบาลไทย
นับตั้งแต่เปิดตัวในเมืองไทยเมื่อเดือน มีนาคมที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์มิตซูบิชิ มิราจใหม่ก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันสามารถพูดได้ว่า มิราจ ใหม่ คือรถยนต์อีโค คาร์ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากลูกค้าเห็นได้จากการมีตัวเลขยอดขายสูงสุดในกลุ่ม รถยนต์อีโค คาร์ โดยลูกค้าส่วนใหญ่พึงพอใจในความสะดวกสบาย การประหยัดน้ำมัน ความคุ้มค่าและความคล่องตัวในการขับขี่ของมิราจใหม่
ทั้งนี้เพื่อ ตอกย้ำภาพลักษณ์ของรถในเรื่อง “ให้การประหยัดน้ำมันเป็นเยี่ยม” ล่าสุด ทางบริษัทฯ จึงได้มีการจัดกิจกรรมทดสอบอัตราการบริโภคน้ำมันของรถยนต์มิตซูบิชิ มิราจ ใหม่โดยสื่อมวลชนสายรถยนต์บนเส้นทางกรุงเทพ-เชียงราย และ เชียงราย-กรุงเทพ ในระหว่างวันที่ 28-30 กันยายน 2555 โดยใช้ชื่อกิจกรรม “ถังเล็ก…ถังเดียวเที่ยวเชียงราย” ด้วยรถยนต์มิตซูบิชิ มิราจ ใหม่ 2 รุ่น ได้แก่ มิตซูบิชิ มิราจ 1.2 GLS Ltd. เกียร์อัตโนมัติ CVT และ มิตซูบิชิ มิราจ 1.2 GLX เกียร์ธรรมดา เพื่อพิสูจน์หนึ่งในคุณสมบัติเด่นของมิตซูบิชิ มิราจ ใหม่อีกครั้ง
เตรียมรถให้พร้อมก่อนการเดินทางไกล
สำหรับ การเตรียมความพร้อมของรถก่อนการทดสอบในครั้งนี้นั้นเริ่มจากการ “เติมลมยาง” ให้อยู่ในระดับ 45 psi เท่ากันทั้งสี่ล้อ (สเป็ครถ 35 psi) เนื่องจากเส้นทางที่วิ่งจะมีร่องรอยชำรุดและการซ่อม/สร้างผิวทางใหม่เป็น ช่วงๆ โดยเฉพาะระหว่าง จ.นครสวรรค์-ตาก จากนั้นจึงเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอ็อคเทน 91 ไร้สารเต็มถัง ที่ความจุ 35 ลิตร ในส่วนอื่นๆ ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพรถยนต์ปกติทั่วไป
เริ่มบททดสอบ จากมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ถึง เชียงราย
ผลลัพธ์ที่ได้ 27.73 กม./ลิตร สำหรับรุ่นเกียร์อัตโนมัติ ส่วนรุ่นเกียร์ธรรมดาอยู่ที่ 32.81 กม./ลิตร”
หลัง จากการเติมน้ำมันเต็มถัง พร้อมปิดผนึกทั้งฝาถังน้ำมันและกระโปรงหน้า โดยได้รับเกียรติจาก มร.โนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เซ็นชื่อกำกับและอวยพรให้คณะผู้เข้าร่วมทดสอบทุกท่าน การเดินทางเพื่อทดสอบความประหยัดของเจ้าตัวเล็ก กับน้ำมันถังเล็กๆ ก็เริ่มขึ้นในเวลา 8.30 น.
การขับขี่โดยภาพรวมเราออกตัวด้วยความ นุ่มนวลไม่ให้รอบเครื่องเกิน 2,000 rpm เพื่อให้เกียร์อัตโนมัติไล่เปลี่ยนจังหวะไปยังตำแหน่งเกียร์สุดท้ายโดยเร็ว และเลี้ยงรอบไว้ที่ 1,750-1,900 rpm หรือระหว่าง 82-90 กม./ชม.ตลอดเส้นทาง ขณะที่ในรุ่นเกียร์ธรรมดาก็จะเปลี่ยนเกียร์ที่รอบเครื่องประมาณ 1,500-2,000 rpm เช่นกัน จากนั้นก็ประคองความเร็วไว้ที่แถวๆ 82 กม./ชม.รอบเครื่อง 2,500 rpm (ในความเร็วเท่ากันรุ่นเกียร์ธรรมดาจะใช้รอบเครื่องสูงกว่า)
จาก สำนักงานใหญ่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เราเจอปัญหารถติดเล็กน้อย ก่อนแยกซ้ายไปใช้ทางหลวงสายเอเซียผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี ซึ่งช่วงนี้สามารถขับขี่ประคองคันเร่งในตำแหน่งเกียร์สุดท้ายได้อย่างสบาย เพราะถนนกว้างขวางและการจราจรไม่หนาแน่น
หลังจากรับประทานอาหารกลาง วันที่ “ร้านยิ้มยิ้ม” เลยแยก จ.อุทัยธานี ก่อนถึง อ.พยุหะคีรี (เวลา 11.00-12.00 น.) ก็เดินทางต่อโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 1 พหลโยธินไปแยกซ้ายเข้าทางเลี่ยงเมืองไม่ผ่านตัว จ.นครสวรรค์ จากนั้นสภาพผิวทางจะเริ่มชำรุดเป็นระยะและมีงานซ่อมตลอดจนสร้างผิวทางใหม่ แทรกอยู่หลายช่วง พร้อมกับมีพายุฝนโปรยปรายลงมาเป็นครั้งคราว แต่ก็ยังขับขี่คุมความเร็วและรอบเครื่องตามที่กล่าวมาไปผ่าน จ.กำแพงเพ็ชร ครั้นเมื่อเลย จ.ตาก เส้นทางจะเริ่มขึ้น/ลงเนินโดยตลอดการขับขี่ก็ยังเป็นไปตามลักษณะเดิม โดยขณะขึ้นเนินจะประคองคันเร่งไม่ให้เกียร์เปลี่ยนทวนจังหวะ
เมื่อ ผ่าน จ.ลำปาง ไปแล้วเส้นทางต้องขึ้นเขาสูงไปหา อ.งาว ช่วงนี้รุ่นเกียร์อัตโนมัติจะประคองความเร็วและทำเวลาได้ดีโดยที่รอบ เครื่องยังอยู่ในระดับเดิม แต่รุ่นเกียร์ธรรมดาต้องใช้ฝีมือและความอดทนเลี้ยงคันเร่งให้ข้ามความสูง ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งถือเป็นช่วงที่ขับยากที่สุดในเส้นทาง
เรา ได้หยุดพักรับประทานอาหารเย็นที่กว๊าน จ.พะเยา ในเวลาประมาณ 20.00-21.00 น. ก่อนเดินทางต่อไปยัง จ.เชียงราย โดยได้เข้าเติมเชื้อเพลิงหาอัตราสิ้นเปลืองที่ ปั๊ม ปตท. ก่อนเข้าตัวเมืองเชียงราย ซึ่งปรากฏว่า ในรุ่นเกียร์อัตโนมัติที่วิ่งได้ระยะทาง 770.7 กม.ตาม Trip meter บนหน้าปัด ได้เผาผลาญ อ็อคเทน 91 ไป 27.793 ลิตรทำให้หารออกมาได้อัตราเฉลี่ยอยู่ที่ “27.73 กม./ลิตร” ส่วนรุ่นเกียร์ธรรมดาที่วิ่งไป 770.5 กม.ได้เติมน้ำมันชดเชยเข้าไป 23.478 ลิตร ส่งผลให้หารออกมาได้อัตราเฉลี่ยอยู่ที่ “32.81 กม./ลิตร” ถือเป็นอัตราสิ้นเปลืองที่ “ประหยัด” เกินคาด และทำให้ภารกิจ “ถังเล็ก…ถังเดียวเที่ยวเชียงราย” ในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เราพักค้างคืนกันที่ “โรงแรมเวียงอินทร์” จ.เชียงราย เก็บแรงสำหรับบททดสอบอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น
พิสูจน์อีกครั้งเพื่อการันตีความประหยัด เชียงราย – กรุงเทพ
ผลลัพธ์ที่ได้ 28.51 กม./ลิตร สำหรับรุ่นเกียร์อัตโนมัติ ส่วนรุ่นเกียร์ธรรมดาอยู่ที่ 31.14 กม./ลิตร”
เช้าวันที่สองของการทดสอบหลังจากเติมน้ำมันเต็มถังก็เริ่มออกเดินทางใน เวลาประมาณ 9.00 น. โดยแวะเก็บภาพที่ “วัดร่องขุ่น” ประมาณ 20 นาที ก่อนวิ่งย้อนเส้นทางวันแรกลงมาพักรับประทานอาหารกลางวันที่ “เวียงลคอร” จ.ลำปาง ระหว่าง 12.45-14.00 น. จากนั้นก็ล่องลงมาผ่าน จ.ตาก-กำแพงเพ็ชร และเข้าพักที่ จ.นครสวรรค์ ในเวลาประมาณ 19.00 น. โดยเข้าพักที่ “โรงแรมไม้หอมรีสอร์ท” และรับประทานอาหารเย็นที่ “ร้านโกยี”
วันที่สามของการเดินทาง คณะเริ่มออกเดินทางช่วงสุดท้ายจาก จ.นครสวรรค์ ในเวลา 9.15 น. แล้ววิ่งตามทางหลวงสายเอเซียผ่าน แยกอุทัยธานี-จ.สิงห์บุรี-อ่างทอง-อยุธยา ก่อนผ่านหน้ามิตซูบิชิ “สนง.ใหญ่” เพื่อไปขึ้นดอนเมืองโทลเวย์ ปรากฏว่ามีรถกระบะเกิดอุบัติเหตุพลิกตะแคงแถวๆ หน้า มหาวิทยาลัยกรุงเทพทำให้รถติดเป็นขบวนยาวต้องเสียเวลาหยุดๆ ไหลๆ อยู่ร่วม 20 นาทีจึงขึ้นโทลเวย์ได้ และได้เดินทางเข้ากรุงโดยมาเติมน้ำมันครั้งสุดท้ายที่ปั๊ม ปตท.ร1 รอ. ถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้าม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สำหรับผลการขับขี่เที่ยวกลับนี้ในรุ่นเกียร์อัตโนมัติบนระยะทางรวม 819.8 กม.ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไป 28.753 ลิตร ส่งผลให้คำนวณออกมาได้อัตราการบริโภคน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ “28.51 ลิตร” ซึ่งถือว่าดีกว่าขาขึ้นเล็กน้อย ส่วนรุ่นเกียร์ธรรมดาในระยะทางเท่ากันจะเติมน้ำมันชดเชยเข้าไป 26.320 ลิตร หรือหารออกมาได้ “31.14 กม./ลิตร” ด้อยกว่ากันไม่มาก
มิตซูบิชิ “มิราจ” เป็นผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ระดับโลกและรถยนต์รุ่นใหม่ในสายผลิตภัณฑ์ของมิตซู บิชิ มอเตอร์ส ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการรถยนต์ของตลาดโลก โดยได้รับการออกแบบโดยเน้น “ความกะทัดรัด” “ราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ง่าย” และ “ให้การประหยัดน้ำมันเป็นเยี่ยม” จึงให้ความสมดุลทั้งสมรรถนะและฟังก์ชั่นการใช้งาน ทั้งนี้จากความพยายามในการลดน้ำหนักของตัวรถรวมไปถึงการพัฒนารถขึ้นมาบนแพ ลทฟอร์มใหม่ทั้งหมดโดยเน้นการประหยัดน้ำมันจากโครงสร้างเหล็กความแข็งแรงสูง High Tensile Steel ซึ่งมีน้ำหนักเบาแต่ใความแข็งแกร่งสูงกว่าเหล็กทั่วไป สอดคล้องกับการออกแบบตัวถังตามหลักอากาศพลศาสตร์ ส่งผลให้ มิตซูบิชิ “มิราจ” ใหม่ เป็นรถที่ให้การประหยัดน้ำมันสูงสุดในรถระดับเดียวกันโดยมีอัตราการประหยัด น้ำมันสูงสุดถึง 22 กิโลเมตรต่อลิตร (ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานยุโรป UNECE Reg.101 Rev.O1 Combine Mode) รวมไปถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะของโครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐาน สากล หรือ อีโค คาร์ ของรัฐบาลไทย
นับตั้งแต่เปิดตัวในเมืองไทยเมื่อเดือน มีนาคมที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์มิตซูบิชิ มิราจใหม่ก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันสามารถพูดได้ว่า มิราจ ใหม่ คือรถยนต์อีโค คาร์ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากลูกค้าเห็นได้จากการมีตัวเลขยอดขายสูงสุดในกลุ่ม รถยนต์อีโค คาร์ โดยลูกค้าส่วนใหญ่พึงพอใจในความสะดวกสบาย การประหยัดน้ำมัน ความคุ้มค่าและความคล่องตัวในการขับขี่ของมิราจใหม่
ทั้งนี้เพื่อ ตอกย้ำภาพลักษณ์ของรถในเรื่อง “ให้การประหยัดน้ำมันเป็นเยี่ยม” ล่าสุด ทางบริษัทฯ จึงได้มีการจัดกิจกรรมทดสอบอัตราการบริโภคน้ำมันของรถยนต์ Mirage โดยสื่อมวลชนสายรถยนต์บนเส้นทางกรุงเทพ-เชียงราย และ เชียงราย-กรุงเทพ ในระหว่างวันที่ 28-30 กันยายน 2555 โดยใช้ชื่อกิจกรรม “ถังเล็ก…ถังเดียวเที่ยวเชียงราย” ด้วยรถยนต์มิตซูบิชิ มิราจ ใหม่ 2 รุ่น ได้แก่ มิตซูบิชิ มิราจ 1.2 GLS Ltd. เกียร์อัตโนมัติ CVT และ มิตซูบิชิ มิราจ 1.2 GLX เกียร์ธรรมดา เพื่อพิสูจน์หนึ่งในคุณสมบัติเด่นของมิตซูบิชิ มิราจ ใหม่อีกครั้ง
เตรียมรถให้พร้อมก่อนการเดินทางไกล
สำหรับ การเตรียมความพร้อมของรถก่อนการทดสอบในครั้งนี้นั้นเริ่มจากการ “เติมลมยาง” ให้อยู่ในระดับ 45 psi เท่ากันทั้งสี่ล้อ (สเป็ครถ 35 psi) เนื่องจากเส้นทางที่วิ่งจะมีร่องรอยชำรุดและการซ่อม/สร้างผิวทางใหม่เป็น ช่วงๆ โดยเฉพาะระหว่าง จ.นครสวรรค์-ตาก จากนั้นจึงเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอ็อคเทน 91 ไร้สารเต็มถัง ที่ความจุ 35 ลิตร ในส่วนอื่นๆ ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพรถยนต์ปกติทั่วไป
เริ่มบททดสอบ จากมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ถึง เชียงราย
ผลลัพธ์ที่ได้ 27.73 กม./ลิตร สำหรับรุ่นเกียร์อัตโนมัติ ส่วนรุ่นเกียร์ธรรมดาอยู่ที่ 32.81 กม./ลิตร”
หลัง จากการเติมน้ำมันเต็มถัง พร้อมปิดผนึกทั้งฝาถังน้ำมันและกระโปรงหน้า โดยได้รับเกียรติจาก มร.โนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เซ็นชื่อกำกับและอวยพรให้คณะผู้เข้าร่วมทดสอบทุกท่าน การเดินทางเพื่อทดสอบความประหยัดของเจ้าตัวเล็ก กับน้ำมันถังเล็กๆ ก็เริ่มขึ้นในเวลา 8.30 น.
การขับขี่โดยภาพรวมเราออกตัวด้วยความ นุ่มนวลไม่ให้รอบเครื่องเกิน 2,000 rpm เพื่อให้เกียร์อัตโนมัติไล่เปลี่ยนจังหวะไปยังตำแหน่งเกียร์สุดท้ายโดยเร็ว และเลี้ยงรอบไว้ที่ 1,750-1,900 rpm หรือระหว่าง 82-90 กม./ชม.ตลอดเส้นทาง ขณะที่ในรุ่นเกียร์ธรรมดาก็จะเปลี่ยนเกียร์ที่รอบเครื่องประมาณ 1,500-2,000 rpm เช่นกัน จากนั้นก็ประคองความเร็วไว้ที่แถวๆ 82 กม./ชม.รอบเครื่อง 2,500 rpm (ในความเร็วเท่ากันรุ่นเกียร์ธรรมดาจะใช้รอบเครื่องสูงกว่า)
จาก สำนักงานใหญ่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เราเจอปัญหารถติดเล็กน้อย ก่อนแยกซ้ายไปใช้ทางหลวงสายเอเซียผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี ซึ่งช่วงนี้สามารถขับขี่ประคองคันเร่งในตำแหน่งเกียร์สุดท้ายได้อย่างสบาย เพราะถนนกว้างขวางและการจราจรไม่หนาแน่น
หลังจากรับประทานอาหารกลาง วันที่ “ร้านยิ้มยิ้ม” เลยแยก จ.อุทัยธานี ก่อนถึง อ.พยุหะคีรี (เวลา 11.00-12.00 น.) ก็เดินทางต่อโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 1 พหลโยธินไปแยกซ้ายเข้าทางเลี่ยงเมืองไม่ผ่านตัว จ.นครสวรรค์ จากนั้นสภาพผิวทางจะเริ่มชำรุดเป็นระยะและมีงานซ่อมตลอดจนสร้างผิวทางใหม่ แทรกอยู่หลายช่วง พร้อมกับมีพายุฝนโปรยปรายลงมาเป็นครั้งคราว แต่ก็ยังขับขี่คุมความเร็วและรอบเครื่องตามที่กล่าวมาไปผ่าน จ.กำแพงเพ็ชร ครั้นเมื่อเลย จ.ตาก เส้นทางจะเริ่มขึ้น/ลงเนินโดยตลอดการขับขี่ก็ยังเป็นไปตามลักษณะเดิม โดยขณะขึ้นเนินจะประคองคันเร่งไม่ให้เกียร์เปลี่ยนทวนจังหวะ
เมื่อ ผ่าน จ.ลำปาง ไปแล้วเส้นทางต้องขึ้นเขาสูงไปหา อ.งาว ช่วงนี้รุ่นเกียร์อัตโนมัติจะประคองความเร็วและทำเวลาได้ดีโดยที่รอบ เครื่องยังอยู่ในระดับเดิม แต่รุ่นเกียร์ธรรมดาต้องใช้ฝีมือและความอดทนเลี้ยงคันเร่งให้ข้ามความสูง ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งถือเป็นช่วงที่ขับยากที่สุดในเส้นทาง
เรา ได้หยุดพักรับประทานอาหารเย็นที่กว๊าน จ.พะเยา ในเวลาประมาณ 20.00-21.00 น. ก่อนเดินทางต่อไปยัง จ.เชียงราย โดยได้เข้าเติมเชื้อเพลิงหาอัตราสิ้นเปลืองที่ ปั๊ม ปตท. ก่อนเข้าตัวเมืองเชียงราย ซึ่งปรากฏว่า ในรุ่นเกียร์อัตโนมัติที่วิ่งได้ระยะทาง 770.7 กม.ตาม Trip meter บนหน้าปัด ได้เผาผลาญ อ็อคเทน 91 ไป 27.793 ลิตรทำให้หารออกมาได้อัตราเฉลี่ยอยู่ที่ “27.73 กม./ลิตร” ส่วนรุ่นเกียร์ธรรมดาที่วิ่งไป 770.5 กม.ได้เติมน้ำมันชดเชยเข้าไป 23.478 ลิตร ส่งผลให้หารออกมาได้อัตราเฉลี่ยอยู่ที่ “32.81 กม./ลิตร” ถือเป็นอัตราสิ้นเปลืองที่ “ประหยัด” เกินคาด และทำให้ภารกิจ “ถังเล็ก…ถังเดียวเที่ยวเชียงราย” ในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เราพักค้างคืนกันที่ “โรงแรมเวียงอินทร์” จ.เชียงราย เก็บแรงสำหรับบททดสอบอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น
พิสูจน์อีกครั้งเพื่อการันตีความประหยัด เชียงราย – กรุงเทพ
ผลลัพธ์ที่ได้ 28.51 กม./ลิตร สำหรับรุ่นเกียร์อัตโนมัติ ส่วนรุ่นเกียร์ธรรมดาอยู่ที่ 31.14 กม./ลิตร”
เช้าวันที่สองของการทดสอบหลังจากเติมน้ำมันเต็มถังก็เริ่มออกเดินทางใน เวลาประมาณ 9.00 น. โดยแวะเก็บภาพที่ “วัดร่องขุ่น” ประมาณ 20 นาที ก่อนวิ่งย้อนเส้นทางวันแรกลงมาพักรับประทานอาหารกลางวันที่ “เวียงลคอร” จ.ลำปาง ระหว่าง 12.45-14.00 น. จากนั้นก็ล่องลงมาผ่าน จ.ตาก-กำแพงเพ็ชร และเข้าพักที่ จ.นครสวรรค์ ในเวลาประมาณ 19.00 น. โดยเข้าพักที่ “โรงแรมไม้หอมรีสอร์ท” และรับประทานอาหารเย็นที่ “ร้านโกยี”
วันที่สามของการเดินทาง คณะเริ่มออกเดินทางช่วงสุดท้ายจาก จ.นครสวรรค์ ในเวลา 9.15 น. แล้ววิ่งตามทางหลวงสายเอเซียผ่าน แยกอุทัยธานี-จ.สิงห์บุรี-อ่างทอง-อยุธยา ก่อนผ่านหน้ามิตซูบิชิ “สนง.ใหญ่” เพื่อไปขึ้นดอนเมืองโทลเวย์ ปรากฏว่ามีรถกระบะเกิดอุบัติเหตุพลิกตะแคงแถวๆ หน้า มหาวิทยาลัยกรุงเทพทำให้รถติดเป็นขบวนยาวต้องเสียเวลาหยุดๆ ไหลๆ อยู่ร่วม 20 นาทีจึงขึ้นโทลเวย์ได้ และได้เดินทางเข้ากรุงโดยมาเติมน้ำมันครั้งสุดท้ายที่ปั๊ม ปตท.ร1 รอ. ถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้าม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สำหรับผลการขับขี่เที่ยวกลับนี้ในรุ่นเกียร์อัตโนมัติบนระยะทางรวม 819.8 กม.ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไป 28.753 ลิตร ส่งผลให้คำนวณออกมาได้อัตราการบริโภคน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ “28.51 ลิตร” ซึ่งถือว่าดีกว่าขาขึ้นเล็กน้อย ส่วนรุ่นเกียร์ธรรมดาในระยะทางเท่ากันจะเติมน้ำมันชดเชยเข้าไป 26.320 ลิตร หรือหารออกมาได้ “31.14 กม./ลิตร” ด้อยกว่ากันไม่มาก
บทสรุปของการทดสอบ Mirage
สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากการทดสอบการขับขี่ในระยะทางไกลกว่า 1,589 กิโลเมตรในครั้งนี้คือ ความประหยัดของรถยนต์มิตซูบิชิ มิราจ ใหม่ เพราะผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างขาขึ้นกับขาล่องแล้วแทบไม่ต่าง กันและที่สำคัญการ “หาความสิ้นเปลืองสองครั้ง” จะแสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ที่ได้อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน
รุ่น | สื่อมวลชน | เส้นทาง | ระยะทาง (กม.) | ปริมาณน้ำมัน (ลิตร) | อัตราบริโภคน้ำมันเฉลี่ย (กม./ลิตร) | หมายเหตุ | |
GLS Ltd.เกียร์อัตโนมัติCVT | องอาจ จรุงศรี | นิตยสารนักเลงรถ | กทม.-เชียงราย | 770.7 | 27.793 | 27.730 | จาก สนง.ใหญ่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย |
ภิญโญ ศิลปศาสตร์ดำรง | นิตยสารกรังด์ปรีซ์ | เชียงราย-กทม. | 819.8 | 28.753 | 28.512 | ||
GLX เกียร์ธรรมดา | อภิชาติ สุวรรณโพธิ์ศรี | นิตยสารยานยนต์ | กทม.-เชียงราย | 770.5 | 23.478 | 32.818 | จาก สนง.ใหญ่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย |
ธนาสาร เสาวมล | นิตยสารฟอร์มูลา | เชียงราย-กทม. | 819.8 | 26.320 | 31.147 |
เงื่อนไขการขับขี่
•เติมลมยางให้อยู่ในระดับ 45 psi เท่ากันทั้งสี่ล้อ
•เติม น้ำมันเชื้อเพลิงอ็อคเทน 91 ไร้สารเต็มถัง พร้อมกับโยกรถติดต่อกันสี่-ห้ารอบเพื่อไล่อากาศและให้ได้ปริมาณน้ำมันมาก ที่สุดทั้งเริ่มเติมและเติมชดเชยวัดอัตราสิ้นเปลือง
•เปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเส้นทางการทดสอบ
•ปิดผนึกทั้งฝาถังน้ำมันและกระโปรงหน้าป้องกันการเติมน้ำมันและดัดแปลงแก้ไขเครื่องยนต์ระหว่างการทดสอบ
•ขับด้วยความเร็วเฉลี่ย 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
•อัตราการบริโภคน้ำมันที่ได้เกิดจากความสามารถในการขับขี่ของผู้ทดสอบ
•อัตราการบริโภคน้ำมันอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพการขับขี่ของผู้ขับขี่แต่ละท่าน
รถไฟฟ้าที่น่าสนใจ...
รถยอดนิยม
Mazda 2 ราคาเริ่มต้น 546,000.
Mazda 3 ราคาเริ่มต้น 969,000.
Mazda CX-3 ราคาเริ่มต้น 769,000.
Nissan Almera ราคาเริ่มต้น 499,000.
Nissan Kicks ราคาเริ่มต้น 889,000.
Nissan Navara ราคาเริ่มต้น 599,000.
Honda City ราคาเริ่ม 579,500.
Honda City Hatchback ราคาเริ่ม 599,000.
Honda City e:HEV ราคา 839,000.
Honda Civic ราคาเริ่ม 874,000.
Mitsubishi Triton ราคาเริ่มต้น 539,000.
Mitsubishi Xpander ราคาเริ่มต้น 789,000.
Mitsubishi Pajero Sport ราคาเริ่มต้น 1,299,000.
Toyota Fortuner ราคาเริ่มต้น 1,319,000.
Toyota Revo ราคาเริ่มต้น 544,000.
Toyota Yaris ATIV 4 ประตู ราคาเริ่มต้น 529,000.
Toyota Yaris 5 ประตู ราคาเริ่มต้น 539,000.
Toyota Corolla Cross ราคาเริ่มต้น 989,000.
โตโยต้า อัลติส | โตโยต้า รีโว | Honda City | Honda Civic | มาสด้า 2 | Mazda CX-5 | นิสสัน อัลเมร่า | นิสสัน คิกส์ | Suzuki Swift | มิราจ | แอททราจ | ISUZU D-MAX | ISUZU MU-X
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " Mirage ใหม่ “ถังเล็ก…ถังเดียวเที่ยวเชียงราย” "